ระบบนิเวศ
ระบบนิเวศ (Ecosystem) หมายถึง หน่วยพื้นที่หนึ่งประกอบด้วยสังคมของสิ่งมีชีวิตกับ สิ่งแวดล้อมทำหน้าที่ร่วมกัน
ระบบนิเวศเป็นระบบที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดของสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อม โดยการลำดับขั้นของการกินแบบต่าง ๆ ตลอดจนการหมุนเวียน
ของสารแร่ธาตุและการถ่ายทอดพลังงาน จนทำให้เกิดองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต
เป็นระบบที่มีลักษณะต่าง ๆ กัน ระบบนิเวศเป็นกลไกควบคุมสังคมของสิ่งมีชีวิต
ต่าง ๆ ที่เกิดมาจากความสัมพันธ์ต่อกันทั้งส่วนที่เป็นสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต
ดังนั้นระบบนิเวศประกอบไปด้วย
1. หน่วยพื้นที่
2. องค์ประกอบที่มีชีวิต (Biotic component)
3. องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic component)
4. ความสัมพันธ์ต่อกันระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม (ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต)
ประเภทของระบบนิเวศ
การจำแนกระบบนิเวศสามารถจำแนกได้เป็นหลายแบบ ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้
แบ่ง ได้แก่
1. การจำแนกโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
1) ระบบนิเวศพื้นดิน (Terrestrial Ecosystem)
2) ระบบนิเวศน้ำ (Aquatic Ecosystem)
2. การจำแนกโดยใช้แบบแผนของการถ่ายทอดพลังงานและสารอาหาร แบ่งออกเป็น
3 แบบ คือ
1) ระบบนิเวศอิสระ (Lsolated Ecosystem)
2) ระบบนิเวศแบบปิด (Closed Ecosystem)
3) ระบบนิเวศแบบเปิด (Open Ecosystem)
3. จำแนกโดยใช้ขนาดพื้นที่ของระบบนิเวศนั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ขนาด คือ
1) ระบบนิเวศขนาดใหญ่
2) ระบบนิเวศขนาดเล็ก
4. จำแนกโดยใช้ลักษณะการนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและ
การดำรงชีพ สามารถแบ่งได้ดังนี้
1) ระบบนิเวศสมบูรณ์
2) ระบบนิเวศไม่สมบูรณ์
บทบาทของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ
1.ผู้ผลิต (Producer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้2. ผู้บริโภค (Consumer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง ต้องได้รับ
อาหารโดยกินผู้ผลิต
3. ผู้ย่อยสลาย(Decomposer) เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตและได้พลังงานมาใช้ด้วย
การย่อยสลายอินทรีย์สารแล้วดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย เช่น พวกสิ่งมีชีวิตในกลุ่มเห็ดรา
(Fungi) และแบคทีเรียที่สร้างอาหารเองไม่ได้
ในระบบนิเวศธรรมชาติสิ่งมีชีวิตทั้งกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มผู้บริโภคและผู้ย่อยสลาย
ทำให้เกิดกลไกความสัมพันธ์ต่อกันในเชิงระบบ ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ที่มีต่อกันนั้นได้โดยผ่านทางกลไก 3 ประการ ได้แก่
1. ห่วงโซ่อาหาร คือ การกินกันอย่างเป็นลำดับขั้น เรียกแต่ละลำดับขั้นนั้นว่า ระดับอาหาร และจะมีลำดับการกินต่อกันเป็นทอด ๆ สามารถแสดงความสัมพันธ์
์ของแต่ละระดับอาหารที่กินกันเป็นทอด ๆ นี้ได้โดยห่วงโซ่อาหาร (Food chain) และสายใยอาหาร (Food web)
2. การถ่ายทอดพลังงาน คือ การถ่ายทอดพลังงานจากอาหารการกินกันอย่าง
เป็นลำดับขั้นพลังงานที่ถ่ายทอดไปตามระดับอาหาร การถ่ายทอดพลังงาน
จากระดับอาหารต้นไปสู่ระดับอาหารท้ายนั้นระดับพลังงานจะลดน้อยลงไปเรื่อย ๆ ตามลำดับการกิน
3. วัฏจักรสารอาหารในระบบนิเวศ คือ ผลพวงที่เกิดมาจากการย่อยสลายของ
กลุ่มผู้ย่อยสลายในระบบนิเวศ ทำให้เกิดการหมุนเวียนถ่ายเทสารอาหาร
ที่จำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ ซึ่งจะปรากฏในรูปแบบของการหมุนเวียน
ของธาตุต่าง ๆ โดยแต่ละธาตุมีการหมุนเวียนแตกต่างกัน โดยวัฏจักรสารอาหาร
สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ
3.1 การหมุนเวียนของสารประกอบ ได้แก่ วงจรของน้ำ
3.2 การหมุนเวียนของธาตุที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโดรเจน
3.3 การหมุนเวียนของธาตุที่สะสมอยู่บนผิวโลกพบในลักษณะการตก
ตะกอนการละลาย การสะสมในรูปแบบต่าง ๆ และถูกปล่อยออกมาด้วย
กระบวนการกัดกร่อน ได้แก่ ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ โพแทสเซียม ฯลฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น